เส้นใย

คือ วัสดุ หรือสารใดๆ ทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น สามารถขึ้นรูปเป็นผ้าได้ และเป็นองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของผ้า

แบ่งเป็น 2 ประเภท

  1. เส้นใยธรรมชาติ (Natural Fibers)
  2. เส้นใยประดิษฐ์ (Man-made Fibers)

เส้นใยธรรมชาติ (Natural Fibers)

เส้นใยจากพืช

  • ฝ้าย (Cotton)
  • ลินิน (Linen)
  • ปอ (Jute)
  • รามี่ (Ramie)
  • นุ่น (Kapok)

เส้นใยจากสัตว์

  • ขนสัตว์ (Wool)
  • ไหม (Silk)

เส้นใยประดิษฐ์ (Man-made Fibers)

  • เรยอน (Rayon)
  • อะซิเทต (Acetate)
  • โพลีเอสเทอร์ (Polyester)
  • ไนลอน (Nylon)
  • อะคลิลิก (Acrylic)

การทดสอบหาชนิดเส้นใย (Fiber Type)

  1. การเผาเส้นใย (Burnning Test)
  2. การส่องดูเส้นใยด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Test)
  3. การละลายเส้นใย (Solubility Test)
  4. การหาไนโตรเจน และคลอรีนในเส้นใย (Nitrogen/Chlorine Test)
  5. การติดสีเส้นใย (Staining Test)

การทดสอบหาชนิดเส้นใย โดยการเผา

ชนิดเส้นใย

1. ฝ้าย ปอ ลินิน รามี่ ใยกัญชา เรยอน เทนเซล โมดาว

2. ไหม ขนสัตว์

3. โพลีเอสเทอร์ ไนลอน อะคลิลิก (ไหมประดิษฐ์)



หลังการเผา

-เผาแล้วมีกลิ่น เหมือนหญ้าไหม้ มีขี้เถ้าสีขาวเทาอ่อน

-เผาแล้วมีกลิ่น เหมือนผมไหม้ ลุกลามรวดเร็ว

-เผาแล้วติดไฟ มีควันดำเหลวหยดเป็นลูกไฟ เหมือนเผาถุงพลาสติก เมื่อเย็นจะแข็งตัวเหมือนพลาสติก

เส้นด้าย (Yarn)

มีลักษณะเป็นเส้นยาวที่ประกอบขึ้นจากเส้นใยหลาย ๆ เส้นรวมกัน โดยอาจมีการขึ้นเกลียวหรือไม่ก็ได้

แบ่งเป็น 2 ประเภท

  • ด้ายจากเส้นใยสั้น (Spun Yarn)
  • ด้ายจากเส้นใยยาว (Filament Yarn)

ด้ายจากเส้นใยสั้น (Spun Yarn) ประกอบด้วยเส้นใยสั้นที่ขึ้นเกลียว (Twist) เพื่อยึดติดกันเป็นเส้นด้าย ผิวมักจะไม่เรียบ เนื่องจากมีปลายของเส้นใยโผล่ออกมา เช่น ด้ายฝ้าย ด้ายขนสัตว์ ด้ายลินิน




ด้ายจากเส้นใยยาว (Filament Yarn) ประกอบด้วยเส้นใยยาว (Filament) ที่รวมกันเป็นกลุ่มโดยมีการขึ้นเกลียวเพียงเล็กน้อย ผิวมีลักษณะเรียบ เส้นใยอาจมีลักษณะเป็นเส้นตรงเรียงกัน หรือมีลักษณะฟู (Bulky) เนื่องจากการทำหยัก (Crimp) บนเส้นใยยาว เช่น ด้ายโพลีเอสเทอร์ฟิลาเมนท์ ด้ายไนลอนฟิลาเมนท์ เส้นไหม

ขั้นตอนการปั่นด้ายจากเส้นใยสั้น

การเปิด (Opening) เป็นการทำให้เส้นใย

ที่อัดอยู่ในกอง (Bale) มีการเปิดและกระจายตัว รวมทั้งทำการผสมเส้นใยให้ทั่วถึง (Uniform)



การสางใย (Carding) เป็นการทำให้เส้นใย

เรียงตัวไปในทิศทางเดียวกัน เส้นใยมีการสานกันไปมาเป็นใย (Web) บาง และแยกเอาเส้นใยสั้นออกไป

การหวี (Combing) เป็นการทำให้เส้นใยเรียงตัวไปในทางเดียวกัน และแยกเอาเส้นใยสั้นออกอีกครั้งหนึ่ง เส้นด้ายที่ผลิตจากเส้นใยที่ผ่านการหวีจะเรียบมาก และมีขนน้อย

การดึง (Drawing) เป็นการเพิ่มการจัดทิศทางของเส้นใยให้ขนานกันมากขึ้นโดยใย (Web)

ที่ได้จะถูกดึงผ่านลูกกลิ้งที่มีความเร็วต่างกันทำให้เกิดเป็นเส้นด้ายที่มีการรวมตัวของเส้นใยอย่างหลวม ๆ

การขึ้นเกลียว (Roving) เป็นการดึงเพิ่มเติม

เพื่อจัดเส้นใยให้มีการเรียงตัวไป

ในทิศทางเดียวกันมากขึ้น มีการขึ้นเกลียว

นิดหน่อยเพื่อเพิ่มแรงยึดระหว่างเส้นใย



การปั่นเส้นด้าย (Spinning) เป็นการนำเอาด้ายที่มีการขึ้นเกลียวเล็กน้อย มาขึ้นเกลียวเพิ่ม

เพื่อให้ได้เส้นด้ายที่มีความแข็งแรง




ผ้าผืน (Fabrics)

  1. ผ้าทอ (Woven Fabrics)
  2. ผ้าถัก (Knitted Fabrics)
  3. ผ้าไม่ทอ (Nonwoven Fabrics)

ผ้าทอ (Woven Fabrics) เป็นผ้าที่เกิดจากกระบวนการทอโดยใช้เครื่องทอ (Weaving Loom) โดยมีเส้นยืน (Warp Yarn) และเส้นพุ่ง (Weft Yarn) ที่ทอขัดในแนวตั้งฉากกัน





ผ้าทอแบ่งเป็นหลายชนิดขึ้นกับลักษณะการทอ

  • Plain, Basket, Twill, Satin
  • Crepe, Dobby, Jacquard, Doublecloth
  • Pile, Slack-Tension, Leno, Swivel







ผ้าถัก (Knitted Fabrics) เป็นผ้าที่เกิดจากการใช้เข็ม (Needles) ถักเพื่อให้เกิดเป็นห่วงของด้ายที่มีการสอดขัดกัน (Interlocking Loops)

โดยจะมีเส้นที่อยู่แนวตั้ง (Wales) และเส้นที่อยู่ในแนวนอน (Courses)



ผ้าถักแบ่งออกได้หลายชนิด

  • Circular Knit Fabrics เช่น Jersey, Rib Structure, Interlock Structure, Purl Knits
  • Warp Knit Fabrics เช่น Tricot Warp Knit, Milanese Raschel Warp Knit, Simplex
  • Flat Knit Fabrics

ผ้าไม่ถักไม่ทอ (Nonwoven Fabrics) มีลักษณะโครงสร้างเป็นแผ่นผ้าที่เกิดจากการสานไปมาของเส้นใย (Fibrous Web) มีการยึดกันด้วยการที่เส้นใยพันกันไปมา (Mechanical Entanglement) หรือโดยการใช้ความร้อน เรซิน หรือสารเคมีในการทำให้ เกิดการยึดกันระหว่างเส้นใย

ผ้าถักแบ่งออกได้หลายชนิด

  • Circular Knit Fabrics เช่น Jersey, Rib Structure, Interlock Structure, Purl Knits
  • Warp Knit Fabrics เช่น Tricot Warp Knit, Milanese Raschel Warp Knit, Simplex
  • Flat Knit Fabrics

กระบวนการฟอกย้อม

แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน

  1. การเตรียมผ้า (Pretreatment) คือการทำความสะอาดผ้า และวัสดุสิ่งทอให้สะอาด ดูดซึมน้ำได้ดี และมีสภาพเหมาะสมที่สุด
    
    ในการย้อม ขั้นตอนนี้สำคัญที่สุด
  2. การย้อม (Dyeing) คือ การทำให้วัสดุสิ่งทอเกิดสีตามที่ต้องการ
  3. การตกแต่งสำเร็จ (Textile Finishing) คือ การเปลี่ยนแปลงปรับปรุง หรือเพิ่มเติมคุณสมบัติบางอย่างให้กับผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เพื่อให้มีคุณสมบัติในการใช้สอยได้ดีขึ้น หรือให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค

การย้อมสี (Dyeing)

การทำให้วัสดุสิ่งทอเกิดสีโดยมีวัตถุประสงค์ หลัก 3 ประการ คือ

  1. ได้เฉดสีตามต้องการ และสีไม่เพี้ยนการย้อม (Dyeing) คือ การทำให้วัสดุสิ่งทอเกิดสีตามที่ต้องการ
  2. ได้ผ้าที่มีสีเรียบสม่ำเสมอ ไม่ด่างเป็นดวง เป็นเส้น สีริมผ้า กลางผ้าเหมือนกัน สีหัวพับ-กลางพับ-ท้ายพับเหมือนกัน
  3. มีความคงทนต่อความต้องการใช้งาน เช่น สีไม่ตก มีความคงทนต่อแสงดี

กระบวนการเตรียมผ้าก่อนย้อม

ขั้นตอนในกระบวนการเตรียมผ้าประกอบไปด้วย

  1. การเผาขน (Singeing)
  2. การกำจัดแป้ง (Desizing)
  3. การทำความสะอาด หรือกำจัดสิ่งสกปรก (Scouring)
  4. การฟอกขาว (Bleaching)
  5. การทำปฏิกิริยากับด่าง (Alkali Treatment : Causticization and Mercerization)




ระบบการย้อม

แบ่งออกเป็น 3 ระบบ ดังนี้

  1. ย้อมแบบจุ่ม (Exhaust Dyeing)
  2. ย้อมแบบกึ่งต่อเนื่อง (Semi Continuous Dyeing)
  3. ย้อมแบบต่อเนื่อง (Continuous Dyeing)





ย้อมแบบจุ่ม

(Exhaust Dyeing)

ย้อมแบบกึ่งต่อเนื่อง

(Semi Continuous Dyeing)

เซ็ทหน้าผ้า

การตกแต่งสำเร็จ (Stenter)

ปัจจัยที่ต้องควบคุมในการย้อม ปัจจัยเหล่านี้มีตัวเลขต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของสีย้อม และเทคนิควิธีการย้อม

1.เวลา

2.อุณหภูมิ

3.pH

4.ปริมาณสี และเคมี

กระบวนการลอกแป้ง

กระบวนการฟอกขาว

กระบวนการต้มไขมัน

กระบวนการย้อม

กระบวนการอบแห้ง

การตกแต่งสำเร็จ (Finishing)

การตกแต่งสำเร็จสิ่งทอ (Textile Finishing) คือ การนำสิ่งทอมาปรับปรุงเพื่อให้มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่มักจะเป็นกระบวนการสุดท้ายก่อนจะนำสิ่งทอนั้นไปตัดเย็บ แต่บางครั้งมีการตัดเย็บเป็นตัวก่อนจากนั้นจึงนำสิ่งทอนั้นไปตกแต่งสำเร็จ

1.การตกแต่งเพื่อการสัมผัส

(Touch)

  • การตกแต่งให้นุ่ม
  • การตกแต่งให้แข็ง
  • การตกแต่งกันเชื้อรา
  • การตกแต่งกันไรฝุ่น
  • การตกแต่งป้องกันแสง UV
  • การตกแต่งกันไฟ
  • การตกแต่งกันน้ำ และน้ำมัน
  • การตกแต่งกันเปื้อน

2.การตกแต่งเพื่อการมอง

(Look)

  • การตกแต่งให้มันเงา
  • การตกแต่งให้ดูเก่า
  • การตกแต่งกันเชื้อรา
  • การตกแต่งกันไรฝุ่น
  • การตกแต่งป้องกันแสง UV
  • การตกแต่งกันไฟ
  • การตกแต่งกันน้ำ และน้ำมัน
  • การตกแต่งกันเปื้อน

3.การตกแต่งเพื่อให้มีคุณลักษณะพิเศษ (Function)

  • การตกแต่งกันกลิ่นอับ
  • การตกแต่งให้มีกลิ่นหอม
  • การตกแต่งกันเชื้อรา
  • การตกแต่งกันไรฝุ่น
  • การตกแต่งป้องกันแสง UV
  • การตกแต่งกันไฟ
  • การตกแต่งกันน้ำ และน้ำมัน
  • การตกแต่งกันเปื้อน
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy